เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอหนองสองห้อง

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอหนองสองห้อง

ความเป็นมาของอำเภอ เมื่อประมาณ 150 ปี ผ่านมาในอดีตได้มีผู้คนกลุ่มหนึ่งอพยพจากประเทศลาวและจังหวัดใกล้เคียง ซึ่งนำโดยท้าวอามาตย์ ท้าวราชเสนา ท้าวราชาบุตร ท้าวบุตรวงศ์ ท้าวสุริโย และท้าวศรีกระดานพน เป็นผู้นำพากลุ่มคนมาตั้งถิ่นฐานดำรงชีวิตในดินแดนแห่งใหม่ที่มีภูมิประเทศอุดมสมบรูณ์ อยู่ติดริมหนองน้ำ ลักษณะติดกันสองหนองน้ำ มีป่าไม้ล้อมรอบเหมาะแก่การตั้งถิ่นฐาน จึงใช้ชื่อถิ่นฐานใหม่ว่า “บ้านหนองสองห้อง” โดยเรียกตามลักษณะของสภาพพื้นที่ ที่มีหนองน้ำและเกาะกั้นกลางออกเป็นหนองน้ำทิศเหนือและทิศใต้ของเกาะ และในลักษณะเดียวกันในกลุ่มผู้อพยพก็ได้มีพระภิกษุติดตามมาด้วยหนึ่งรูป มีนามว่า…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอหนองนาคำ

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอหนองนาคำ

ประวัติความเป็นมา อำเภอหนองนาคำ เดิมเป็นดินแดนอารยธรรมและเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในแผ่นดินอีสาน เหมาะสมเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำและเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด เศรษฐกิจรุ่งเรืองตลอด ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข จึงได้ตั้งชื่อชุมชนแห่งนี้ว่า “หนองนาคำ” หมายถึง หมู่บ้านที่รวมแหล่งน้ำ พื้นที่นา และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อีกประการหนึ่ง หมายความถึง บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านหนองนาคำไม่สามารถขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่มกินได้ เพราะน้ำซึมออกมาจะเป็นสีเหลืองแดงเหมือนน้ำสนิม เรียกว่า “น้ำครำ” และตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอหนองเรือ

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอหนองเรือ

คำขวัญประจำอำเภอ หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง ประวัติความเป็นมา ในปี พ.ศ. 2436 ในราวสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีกลุ่มคนอพยพเข้ามา 3 กลุ่ม โดยกลุ่มที่ 1 มาจากจังหวัดอุบลราชธานี…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอพล

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอพล

อำเภอพล คำว่า “พล” แปลว่ากำลังทหารที่มีไว้ป้องกันประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพไปปราบพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ ที่คิดแข็งเมืองและเอาใจออกจากกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยาทั้งสองเดินทัพผ่านเมืองนครราชสีมา มาถึงเนินดินแห่งหนึ่งอยู่ติดกับฝั่งบึงละเสิงหวาย อันเป็น…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอพระยืน

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอพระยืน

ประวัติความเป็นมาของอำเภอพระยืน เดิมอำเภอพระยืน อยู่ในเขตปกครองอำเภอเมืองขอนแก่น ได้แยกออกมาตั้งเป็นกิ่งอำเภอเมื่อพ.ศ. 2519 และได้รับการยกฐานะเป็นอำเภอ เมื่อวันที่ 1 มกราคม  2531 ซึ่งอำเภอพระยืน มีที่มาจากชื่อของหลวงพ่อพระยืน ซึ่งมีประวัติความเป็นมาว่าหลวงพ่อพระยืน เป็นพระพุทธรูปศิลาทั้ง 2 องค์ ว่าสร้างขึ้นในสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่ 2 (ในราวพุทธศตวรรษที่16-18)…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอบ้านไผ่

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอบ้านไผ่

ประวัติความเป็นมา อำเภอบ้านไผ่เดิมชื่อ บ้านเกิ้ง อยู่ในความปกครองของเมืองชนบท ต่อมาทางราชการประกาศใช้พระราชบัญญัติลักษณะการปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 บ้านเกิ้งได้ยกฐานะเป็นตำบลบ้านเกิ้ง อำเภอชนบท เมื่อประมาณ พ.ศ. 2471 บ้านเกิ้งได้ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอบ้านไผ่ เชื่อกันว่าบริเวณที่ตั้งคงมีต้นไผ่ ริมคลองห้วยจิกเป็นจำนวนมาก สถานที่ตั้งบ้านไผ่อยู่ทางทิศตะวันออกของสถานีรถไฟบ้านไผ่ โดยหลวงราษฎร์ (โสฬส อินทรกำแหง)…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอบ้านแฮด

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอบ้านแฮด

ความเป็นมาของอำเภอบ้านแฮด คำขวัญอำเภอ               พญาแฮดศักดิ์สิทธิ์               งามวิจิตรผ้าทอมือ               เลื่องลือมะม่วงน้ำดอกไม้        น้ำใสแก่งละว้า               ก้าวหน้าเกษตรกรรม            นำชัยเหรียญทองแรกมวยโอลิมปิก “พญาแฮดศักดิ์สิทธิ์” หมายถึง  ตามตำนานที่เล่าขานสืบต่อกันมา มีฝูงแรด (ชาวอีสานเรียกว่า แฮด) ซึ่งมีแรดขาวหรือแรดเผือกเป็นจ่าฝูง และหากินอยู่ประจำตามลำน้ำ…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอซำสูง

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอซำสูง

ประวัติความเป็นมา อำเภอซำสูงแยกการปกครองจากอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2537 คำว่า “ซำ” หมายถึง แหล่งน้ำซับขนาดเล็ก ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “น้ำซำ” ซึ่งมีน้ำตลอดปี เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าดงซำ คำว่า “สูง”…

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอชนบท

เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอชนบท

ประวัติเมืองชลบถ (อำเภอชนบท) พ.ศ.2326  ในสมัยรัชกาลที่ 1 เพียเมืองแสน (ท้าวคำพา) สมุหกลาโหมแห่งเมืองสุวรรณภูมิ อพยพครอบครัวและสมัครพรรคพวกมาพักอยู่บ้านหนองกองแก้ว ซึ่งมีหนองน้ำใหญ่อยู่ทางทิศตะวันตกของหมู่บ้านชื่อ “หนองกองแก้ว”  และสมัครเข้ารับราชการกับเจ้าพระยานครราชสีมา ทำความดีความชอบเป็นที่พอพระราชหฤทัยจน พ.ศ. 2335  พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เพียเมืองแสน เป็นเจ้าเมืองตำแหน่งพระจันทรประเทศ และยกฐานะบ้านหนองกองแก้ว ขึ้นเป็นเมืองพระราชทานนามว่า เมือง”ชลบถ”พ.ศ. 2433  ได้มีการจัดหัวเมืองชายพระราชอาณาเขตมณฑล…