เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอหนองนาคำ

ประวัติความเป็นมา

อำเภอหนองนาคำ เดิมเป็นดินแดนอารยธรรมและเป็นแหล่งอุดมสมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในแผ่นดินอีสาน เหมาะสมเป็นแหล่งอู่ข้าวอู่น้ำและเต็มไปด้วยทรัพยากรธรรมชาตินานาชนิด เศรษฐกิจรุ่งเรืองตลอด ประชาชนมีความเป็นอยู่อย่างสงบสุข จึงได้ตั้งชื่อชุมชนแห่งนี้ว่า “หนองนาคำ” หมายถึง หมู่บ้านที่รวมแหล่งน้ำ พื้นที่นา และทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ อีกประการหนึ่ง หมายความถึง บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านหนองนาคำไม่สามารถขุดบ่อน้ำเพื่อใช้ดื่มกินได้ เพราะน้ำซึมออกมาจะเป็นสีเหลืองแดงเหมือนน้ำสนิม เรียกว่า “น้ำครำ” และตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ.2493

     “หนอง”  แปลว่า       แอ่งน้ำอยู่ตามป่าและทุ่ง

“นา” แปลว่า พื้นที่ราบทำเป็นคันดินสำหรับปลูกข้าว

“คำ”      แปลว่า         ทองคำ

แหล่งชุมชนโบราณหนองนาคำ เดิมเคยเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอภูเวียง แต่เมื่อปี พ.ศ.2537 ได้แยกออกมาเป็นกิ่งอำเภอหนองนาคำ ต่อมาปี พ.ศ.2550 ได้ยกฐานะเป็นอำเภอหนองนาคำ ในด้านประวัติศาสตร์และมานุษยวิทยา ปรากฏหลักฐานที่นักโบราณคดีสำรวจบริเวณที่ดินถูกน้ำท่วมเนื่องจากการสร้างเขื่อนอุบลรัตน์ บริเวณบ้านโนนนกทา บ้านนาดี ตำบลกุดธาตุ ซึ่งชี้ให้เห็นว่า อาณาบริเวณของอำเภอหนองนาคำ เคยเป็นดินแดนที่มีผู้คนมาอาศัยตั้งบ้านเรือน มีความเจริญรุ่งเรือง มีอารยธรรมสูงส่งมาหลายพันปี นับตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ หรือยุคหิน ยุคโลหะตอนต้น ได้แก่ ยุคสำริด เรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

คำขวัญอำเภอหนองนาคำ

“พระพุทธนาคำมิ่งมงคล ชุมชนประวัติศาสตร์ งามธรรมชาติภูผาแดง ดอนพระแหล่งรวมใจ นาไร่แสนอุดม ชื่นชมปลาน้ำแดง”

วิสัยทัศน์อำเภอหนองนาคำ

“หนองนาคำเมืองน่าอยู่ มุ่งสู่วิถีชีวิตแบบพอเพียง ผสานนวัตกรรมกับภูมิปัญญา พัฒนาการค้าของชุมชน”

ของดีอำเภอหนองนาคำ

1.ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ

2.เครื่องจักสาน

3. ผักปลอดสารพิษ

4.ปลา

สถานที่ท่องเที่ยวอำเภอหนองนาคำ

1.แพปลาวังหินซา

2.น้ำตกตาดโดน

ปราชญ์ชุมชนอำเภอหนองนาคำ

1.นายบุญจันทร์ สุวรรณศรี             เครื่องจักสาน

2.นายประภาส คำลา                       หมอสู่ขวัญ

3.นางวรรณา โคตรขันตี                   พานบายศรี

4.นายสุพล นิลมานะ                        ดับพิษไฟไหม้

5.นายมะ สุขันธ์                               กลองยาว

6.นายภัณทรากร เหง้าประดิษฐ์        นาฎศิลป์

7.นางอัชนีย์ นพคุณวงศ์                    นวดแผนไทย

8.นางทองคำ แหงมแดง                    นวดแผนไทย

9.นายสวย สมใจ                              เครื่องจักสาน

10.นางหนู นามปัญญา                      เครื่องจักสาน

11.นางหนูเล็ก ลากูล                         สรภัญญะ

12.นางเวียงจิตร บุตรศรี                     ทอผ้ามัดหมี่

13.นายสมเด็จ อุ่นจัตร                       สุภาษิตอีสาน

14.นายสุรพงษ์ ภูมิเวียงศรี                 พิธีทางศาสนา

15.นางสาวลุนลา สีแก้ว                      ทอผ้ามัดหมี่

16.นางบุญยัง สารมาตย์                     หมอดิน

17.นายจิต ผิวผาง                            สมุนไพร

18.นายวิเชียร น้อยคูณ                       หมอน้ำมนต์

19.นายประภาส แสงขุรัง                    ทำพลุ

20.นายชิน มังคุณ                             เป่าแคน