เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอซำสูง

ประวัติความเป็นมา
อำเภอซำสูงแยกการปกครองจากอำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น ยกฐานะเป็นกิ่งอำเภอ ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2537 คำว่า “ซำ” หมายถึง แหล่งน้ำซับขนาดเล็ก ภาษาท้องถิ่นเรียกว่า “น้ำซำ” ซึ่งมีน้ำตลอดปี เนื่องจากความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่าดงซำ คำว่า “สูง” เป็นนามของหมู่บ้านโคกสูง ซึ่งติดอยู่กับป่าดงซำ ประกอบกับบริเวณที่ตั้งหมู่บ้านอยู่บนเนินสูงกว่าหมู่บ้านกระนวน ซึ่งเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ที่มีร่องรอยของการตั้ง ถิ่นฐานของชุมชน โบราณมากกว่า 200 ปีและมีหลักฐานจากพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง โดยสันนิษฐานว่าเป็นศิลปะสมัยล้านช้าง คือ “ พระเจ้าใหญ่” อีกทั้ง ที่ตั้งของหมู่บ้านยังอยู่สูงกว่าหมู่บ้านอื่นในบริเวณเดียวกันจึงใช้นามนี้เป็นนามของการตั้งชื่อ กิ่งอำเภอว่า “กิ่งอำเภอซำสูง ” และ เมื่อวันที่ 8 กันยายน 2550 ยกฐานะขึ้นเป็นอำเภอซำสูง ตามพระราชกฤษฎีกา รวมระยะเวลาการก่อตั้งจากกิ่งอำเภอจนกระทั่งยกฐานะเป็นอำเภอถึงปัจจุบันรวม 28 ปี 7 เดือน
สภาพทั่วไป
1. ที่ตั้ง ขนาด และอาณาเขตอำเภอซำสูง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของจังหวัดขอนแก่น ห่างจากจังหวัดขอนแก่นประมาณ 36 กิโลเมตร โดยมีพื้นที่การปกครองประมาณ 116 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 117,500 ไร่
อาณาเขต

ทิศเหนือ
ทิศใต้
จด
จด
อำเภอกระนวน จังหวัดขอนแก่น
อำเภอเชียงยืน จังหวัดมหาสารคาม
อำเภอเชียงยืน และอำเภอชื่นชม จังหวัดมหาสารคาม
อำเภอเมืองขอนแก่น และอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น
ทิศตะวันออก จด
ทิศตะวันตกจด

2. สภาพภูมิศาสตร์
การคมนาคม ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 2152 ตัดผ่านทุกหมู่บ้าน

3. สภาพภูมิอากาศ
มีสภาพลักษณะภูมิอากาศในเขตมรสุม มี 3 ฤดูกาล ประกอบด้วย
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคม ถึงเดือน พฤษภาคม
ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือน ตุลาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน ถึงเดือน กุมภาพันธ์
4. ทรัพยากรดิน
โดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทรายหินลูกรังบางส่วนมีลักษณะเป็นดินเค็ม บางพื้นที่โดยภาพรวม
เหมาะแก่การเพาะปลูก
5. ทรัพยากรป่าไม้
สวนป่าดงซำ อยู่บริเวณป่าสงวนแห่งชาติดงซำ มีพื้นที่ 60,180 ไร่
6. ทรัพยากรน้ำ
มีลำห้วยสายบาตร บึงกะซา หนองสิม หนองบึงใหม่ หนองโน หนองทุ่งมนหนองคู
ซึ่งประชาชนได้อาศัยแหล่งน้ำเหล่านี้ประกอบอาชีพทางการเกษตรและการประมง การอุปโภคบริโภค
การปกครอง
1. การแบ่งเขตการปกครอง
แบ่งเขตการปกครองตามพระราชบัญญัติลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 เป็น 5 ตำบล 35 หมู่บ้าน มีองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จำนวน 5 แห่ง เทศบาลตำบล 1 แห่ง คือเทศบาลตำบลซำสูง องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง ได้แก่ อบต.คูคำ อบต.บ้านโนน อบต.คำแมด และ อบต.ห้วยเตย
2. จำนวนประชากร
มีประชากรทั้งหมด 23,374 คน 7,335 ครัวเรือน (ข้อมูล ณ วันที่ 31 ตุลาคม 2565)
สภาพเศรษฐกิจ
1. การพาณิชย์
– สถาบันการเงิน 1 แห่ง คือ ธกส. ส่วนสถานประกอบการ เป็นโรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็ก 4 แห่ง ได้แก่ โรงงานพลาสติก โรงงานขอนแก่นแหอวน โรงงานวัสดุปรับปรุงดิน(ปุ๋ยยอดดอย) ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลบ้านโนน โรงงานเฟอร์นิเจอร์ หมู่ที่ 1 ตำบลกระนวน

– โรงแรมและที่พัก ได้แก่ เรือนไม้รีสอร์ท เศรษฐีรีสอร์ท คุ้มแคนทองรีสอร์ท สรารีสอร์ท

2. การประกอบอาชีพ
ส่วนใหญ่มีอาชีพด้านการเกษตรกรรม เช่น การทำนาควบคู่กับการเลี้ยงสัตว์ พื้นที่บางส่วนทำนาได้ปีละ 2 ครั้ง เนื่องจากอยู่ติดคลองชลประทาน รายได้เฉลี่ยของประชากร 63,959.70 บาท/คน/ปี (จาก ข้อมูล จปฐ. 2564)
– ด้านเกษตรกรรม
มีพื้นที่ทำการเกษตรทั้งสิ้น 49,890.06 ไร่ พืชเศรษฐกิจสำคัญ ได้แก่ ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพาราและผัก
– ด้านการปศุสัตว์ ประชากรทำการเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ ไก่ เป็ดและสุกร
– ด้านการพาณิชย์ ประชากรประกอบอาชีพค้าขาย หรือการพาณิชย์ กระจัดกระจายอยู่ตามหมู่บ้านต่าง ๆ ในอัตราน้อย และมีอาคารร้านค้าในเขตเทศบาลตำบลซำสูง ปริมาณกระจัดกระจายไม่หนาแน่นส่วนใหญ่เป็นการค้าขายของชำ
สภาพทางด้านสังคม
1. การศึกษา
– โรงเรียนมัธยมศึกษา จำนวน 2 แห่ง สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดขอนแก่น
– โรงเรียนประถมศึกษา จำนวน 13 แห่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกขอนแก่น เขต 4 โรงเรียนเอกชน 1 แห่ง
– ศูนย์การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 1 แห่ง
2. สาธารณสุข
– โรงพยาบาล 1 แห่ง คือ โรงพยาบาลซำสูง
– โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) 5 แห่ง คือ รพ.สต.คำแมด รพ.สต.คูคำ รพ.สต.ห้วยเตย รพ.สต.บ้านโนน และรพ.สต.กระนวน
3. ศาสนา ประชาชน ร้อยละ 99 นับถือศาสนาพุทธ มีวัดทั้งหมด 17 แห่ง
4. ขนบธรรมเนียมประเพณีและวัฒนธรรม ประชาชนยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีตามประเพณีฮีตสิบสอง คลองสิบสี่ ตามแบบโบราณที่ยึดถือติดต่อกันมา

ของดีอำเภอซำสูง
1. ผ้าไหม

สถานที่ท่องเที่ยว

1. วัดศรีบุญเรือง บ้านดอนเขียง ต.คำแมด

2. วัดบัวระพา บ้านคำแมด ต.คำแมด

ปราชญ์ชุมชน