เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอพล

อำเภอพล คำว่า “พล” แปลว่ากำลังทหารที่มีไว้ป้องกันประเทศชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๓ สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ได้โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยาจักรี และ เจ้าพระยาสุรสีห์ เป็นแม่ทัพไปปราบพระเจ้ากรุงเวียงจันทน์ ที่คิดแข็งเมืองและเอาใจออกจากกรุงธนบุรี ขณะที่เจ้าพระยาทั้งสองเดินทัพผ่านเมืองนครราชสีมา มาถึงเนินดินแห่งหนึ่งอยู่ติดกับฝั่งบึงละเสิงหวาย อันเป็น ที่ตั้งของหมู่บ้านเมืองพลในปัจจุบัน เจ้าพระยาทั้งสองได้หยุดพักทัพที่นี้ เพราะเห็นว่าเป็นชัยภูมิเหมาะสมกว่า ที่อื่น มีแหล่งน้ำปูปลาอาหารสมบูรณ์ จึงได้สร้างค่ายประตูหอรบ ตลอดจนขุดคคันดินน้ำล้อมรอบตามหลัก ยุทธศาสตร์ในสมัยนั้น เพื่อป้องกันการถูกโจมตีจากฝ่ายศัตรูในเนื้อที่ ประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร และถือ โอกาสรวมพลฝึกทหารเพิ่มเติมจากราษฎรที่เกณฑ์มาจากเมืองพุทไธสง (อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์) เมือง นอก (อำเภอบัวใหญ่) จังหวัดนครราชสีมา และเมืองชนบท (อำเภอชนบท จังหวัดชอนแก่น) ปัจจุบันคันคูดิน และร่องน้ำยังคงเหลือปรากฎให้เห็นอยู่ ครั้นต่อมา เมื่อรวบรวมกำลังทหารได้มากพอสมควรแล้ว เจ้าพระยาทั้งสองจึงได้เดินทัพ ต่อไปยังเมืองหลวงพระบาง และเวียงจันทน์ การรบปรากฎว่าได้ชัยอย่างคงามสมพระราชหฤทัยของสมเด็จ พระเจ้าตากสินมหาราช ทุกประการ คือได้พระแก้วมรกตและพระบางจากเวียงจันทน์ โดยได้อัญเชิญมาพร้อม กองทัพไปไว้ที่กรุงธนบุรีในคราวนี้ด้วย ครั้งต่อมาสถานที่ตั้งกองทัพอันเป็นภูมิประเทศที่มีคูดินล้อมรอบ มีน้ำบริบูรณ์คือละเสิงหวาย ในขณะนี้ จึงมีผู้คนอพยพเข้ามาตั้งบ้านเรือนขึ้น เพราะทำเลแห่งนี้เหมาะแก่การทำมาหากินและปลอดภัย ใน การป้องกันโจรผู้ร้าย จึงให้ชื่อหมู่บ้านที่ตั้งใหม่ว่า “บ้านเมืองพล” โดยอาศัยภูมิประเทศที่มีคูดินรอบทั้งสี่ทิศ ดังกสวมาแล้วนั้น เมื่อได้พิจารณาลักษณะภูมิประเทศของบริเวณที่ตั้งบ้านเมืองพล ซึ่งยังปรากฎจนบัดนี้มีคู ดินล้อมรอบเป็นรูปกลมยาว ประมาณ 20 เส้น กว้าง 20 เส้น บางแห่งได้ถูกทำลายเป็นที่ราบไปแล้ว และบาง แห่งยังเห็นเป็นคูดินอยู่ ครั้งอยู่ต่อมาในสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้มี การเปลี่ยนแปลงการปกครอง บ้านเมืองพลจึงได้ยกฐานะเป็นตำบลหนึ่งใช้ชื่อว่า “ตำบลเมืองพล” ขึ้นต่อเมือง ชนบท ซึ่งมีเจ้าเมืองปกครองอยู่ในสมัยนั้น ต่อมาเมืองชนบทถูกยุบให้เป็นอำเภอขึ้นต่อเมืองชอนแก่น อันมี วงปกครอง ต่อมาเมืองขอนแก่นเปลี่ยนป็นจังหวัไปขึ้นต่อมณฑลอุดรธานี ตำบลเมืองพล อำเภอชนบทได้มีหมู่บ้านเกิดขึ้นหลายหมู่บ้าน และมีอาณาเขตขยายกว้างขวางทั้งตั้งอยู่ห่างไกลอำเภอเมือง ชนบท ถึง 45 กิโลเมตร ทั้งอยู่ห่างไกลจังหวัดขอนแก่นมาก การไปมาหาสู่กันเกี่ยวกับเสียภาษีและติดต่อทาง ราชการลำบากมาก ซึ่งต้องอาศัยการเดินทางเท้า ม้า และอาศัยเกวียนเป็นพาหนะ และอีกประการหนึ่ง ตำบล เมืองพสมีเขตติดต่อกับอำเภอนอก (อำเภอบัวใหญ่) จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งมีโจรผู้ร้ายชุกชุมมาก ทางเจ้าหน้าที่ มาปราบปรามลำบากและมีกำลังไม่พอ ราษฎรได้รับความเดือดร้อนจากโจรผู้ร้ายเป็นอย่างมาก

ครั้งปีพุทธศักราช 2457 กระทรวงมหาดไทยได้แบ่งเขตจัดตั้งอำเภอใหม่ ให้แยกตำบลเมืองพลออกจากอำเภอชนบท โดยแต่งตั้งให้ขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะจิติ) ซึ่งในขณะนั้นยังดำรงตำแหน่งเป็นเจ้าภาษีสุราอยู่จังหวัดชัยภูมิ ให้เป็นผู้ พิจารณาแบ่งเขตจัดตั้งอำเภอพลขึ้น จึงเห็นว่าหมู่บ้านเมืองพลมีทำเลที่เหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอำเภอพล ขุนมัชการธนานุรักษ์ (แสง ภาสะฐิติได้สร้างที่ว่าการอำเภอขึ้นในบริเวณวัดสระ- จันทราวาส (ในปัจจุบัน) แบ่งการปกครองออกเป็น 5 ตำบล คือ ตำบลเมืองพล ตำบลหนองเมัก ตำบลแวงน้อย ตำบลเปลือยน้อย ตำบลแคนเหนือ

ปัจจุบันอำเภอพลแบ่งเขตปกครอง ออกเป็น 12 ตำบล ประกอบด้วย 1.ตำบลเมืองพล 2.ตำบลเก่างิ้ว 3.ตำบลเพ็กใหญ่ 4.ตำบลโนนข่า 5.ตำบลโสกนกเต็น 6.ตำบลหัวท่ง 7.ตำบลโจดหนองแก 8.ตำบลหนองแวงโสกพระ 9.ตำบลหนองแวงนางเบ้า 10.ตำบลหนองมะเขือ 11.ตำบลลอมคอม 12.ตำบลโคกสง่า และมีทำเนียบผู้ปกครอง (นายอำเภอ) มาแล้ว จำนวน 43 คน ครั้งปีพุทธศักราช 2498 เวลา 10.00 น. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิดิ์ พระบรมราชินีนาถฯเสด็จขึ้นประทับรถไฟพระที่นั่งเคลื่อนที่ออกจากสถานีบัวใหญ่ ต่อไปยังสถานีเมืองพล จังหวัดขอนแก่น ข้าราชการประชาชนส่งเสด็จเป็นจำนวนมากพล.ต.แสน้อยเศรษฐ ผู้ว่าราชการภาค 3 ตามเสด็จกับขบวนรถไฟพ.อ.จรูญ เสรี เริงฤทธิ์ ผู้ว่าการรถไฟและเจ้าหน้าที่ชั้นผู้ใหญ่ของการรถไฟ เช่น นายจำลอง ชนชิลราน ติดตามถวายความสะดวกในการเสด็จฯ ทางรถไฟโดยตลอด ขบวนรถไฟพระที่นั่งถึงสถานีรถฟเมืองพลพระยารามราชภักดี ปลัดกระทรวงมหาด คมทูลเบิกนายพันตำรวจเอก นศุภกิจ วิลขการ ผู้ว่าราชการภาค 5 นายพันตำรวจเอกบุณณะ ตาละลักษณ์ าค เข้าเฝ้าทูลละอองธุสีพระบาท มี ร.ต.อ.แถว พรหมประกาย ณ นครพนม นายอำเภอเมืองพล ผู้บังคับ ตำรวจ นายดำรง ธุระเสนา นายกเทศบาลเมืองพล ข้าราชการและประชาชน เฝ้าชมพระบารมีกันอย่างเนื่องแน่น พระสงฆ์ ถวายสวดชัยมงคลคาถา เสียงไชโย ถวายพระพร ดังกึกก้องไปทั่ว

คำขวัญอำเภอพล

เมืองพลโนนแท่นพระ สักการะพระเจ้าใหญ่ อ่างน้ำละเลิงหวาย ค้าขายกว้างไกล น้ำใจมากล้น ขนชาตินักรบ ทำนบภูดิน เที่ยวถิ่นทุ่งฟังฟิต ผ้าไหมมัดหมี่ ฮีด 12 บุญราศรี

ปราชญ์ชุมชน

1.นายเชียรชาญ ชามะรัตน์ ปราชญ์สาขา บัญชีครัวเรือนเกษตรกร ที่อยู่ 166 หมู่ 2 ตำบลโนนข่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

2.นายผอง เกตุพิบูลย์ ปราชญ์สาขา เศรษฐกิจพอเพียง ที่อยู่ 83 หมู่ 9 ตำบลโคกสง่า อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

3.นายอธิวัฒน์ ทุมพา ปราชญ์สาขา เกษตรอินทรีย์ ที่อยู่ 95 หมู่ 2 ตำบลหนองแวงโสกพระ อำเภอพล จังหวัดชอบแก่น

4.นายชาย ดีจะมาลา ปราชญ์สาขา เศรษฐกิจพอเพียง ที่อยู่ 16 หมู่ 7 ตำบลโคกสง่ อำเภอพล จังหวัดขอนแก่น

5.นายเชียร ชุดหอม ปราชญ์สาขา เกษตรทฤษฎีใหม่ ที่อยู่ 188 หมู่ 5 ตำบลโนนขำา อำเกอพล จังหวัดขอนแก่น