เล่าเรื่องเมืองขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอแวงน้อย

ประวัติอำเภอ

ที่ตั้งอำเภอเมื่อร้อยกว่าปีเป็นหมู่บ้านเล็ก ๆ ตั้งอยู่ริมหนองน้ำซึ่งมีต้นแวง (ลักษณะคล้ายต้นกก ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก ) ชาวบ้านจึงให้ชื่อว่า “บ้านแวงน้อย” อีกหลายปีต่อมาได้เปลี่ยนสภาพจากหมู่บ้านเล็ก ๆ เป็นหมู่บ้านที่มีขนาดใหญ่ และเป็นศูนย์กลางของหมู่บ้านต่าง ๆ และในปี พ.ศ. 2411 กระทรวงมหาดไทยได้ยกฐานะขึ้นเป็นตำบล อยู่ในเขตการปกครองของอำเภอชนบท ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งอำเภอพล แยกการปกครองออกจากอำเภอชนบท ตำบลแวงน้อยจึงแยกเขตการปกครองขึ้นกับอำเภอพล

มิถุนายน พ.ศ. 2514 กระทรวงมหาดไทย ประกาศยกฐานะตำบลแวงน้อยเป็น กิ่งอำเภอแวงน้อย มีที่ตั้งที่ว่าการอำเภออยู่บ้านโคกสี หมู่ที่  6 ปัจจุบัน ตั้งอยู่หมู่ที่ 12  ตำบลแวงน้อย ต่อมา เมื่อวันที่  8  สิงหาคม พ.ศ. 2518 กระทรวงมหาดไทย จึงมีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอแวงน้อย ขึ้นเป็นอำเภอแวงน้อย

คำขวัญของอำเภอ

แวงน้อยงามน้ำใจดี  พ่อหมื่นศรีหลักเมือง  ลือเลื่องปลาบึงละหานนา ตำนานเก่าหินภูถ้ำ  ไหลลึกล้ำน้ำซับเย็น  ธรรมะเด่นหลวงปู่วรพรต ทุ่งเขียวสดไร่นาสวนผสม

ของดีประจำอำเภอ

ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น OTOP สินค้าหนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์

– การลงทะเบียนผู้ผลิต/ผู้ประกอบการ OTOP ปี 2558 – 2562 มี จำนวน 110 ราย  แยกประเภท อาหาร 31 ราย ผ้าและเครื่องแต่งกาย 33 ราย ของใช้ของประดับ 44 ราย สมุนไพร  2  ราย

– คัดสรรสุดยอดหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ในปี 2562 จำนวน 21 ผลิตภัณฑ์ แยกเป็นประเภทผ้าเครื่องแต่งกาย 12 ผลิตภัณฑ์ ประเภทของใช้ของประดับตกแต่ง 9 ผลิตภัณฑ์

– ประมาณการรายได้  ปีงบประมาณ 2561 เงิน  74,128,640 บาท จากการจำหน่ายเปรียบเทียบปีที่ผ่านมากับปีปัจจุบันรายได้เพิ่มขึ้น

– ช่องทางการตลาด  เช่น ร้านค้า, จำหน่ายที่ทำการกลุ่ม, ตามสถานที่ราชการ และขายส่งกลุ่มผลิตสินค้าที่ OTOP สำคัญ

1. สินค้า OTOP ประเภทผ้า ได้แก่ ผ้าลายดอกแวง เป็นลายผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายประจำอำเภอแวงน้อย ได้แก่ ผ้าถุงไหม ผ้าถุงฝ้าย ผ้าถุงมัดหมี่ ผ้าพันคอ ผ้าคลุมไหล่

2. สินค้า OTOP ประเภทอาหาร ได้แก่ แจ๋วบอง ปลาส้ม ปลาแดดเดียว ปลาวง

ผลผลิตทางการเกษตร

ผักสวนครัว ได้แก่ บล็อกโครี่ ผักหอม ผักชี กระหล่ำดอก ผักกาดหอม ผักกาดเขียวปี แตงกวา ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ ผลไม้ ได้แก่ กล้วย มะละกอ แคนตาลูป

3.ด้านการท่องเที่ยว

สักการะสังขารหลวงปู่วรพรต วัดจุมพล บ้านก้านเหลือง ตำบลก้านเหลือง สังขารไม่เน่าเปื่อยคล้ายแก้วมรกตภูถ้ำ ตำบลท่านางแนว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น บึงละหานนา ตำบลท่านางแนว อำเภอแวงน้อย จังหวัดขอนแก่น สวนสาธารณะ

ปราชญ์ชาวบ้าน อำเภอแวงน้อย

อำเภอแวงน้อย ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่อ้อย  และไร่มันสำปะหลัง  มีการเลี้ยงสัตว์ วัว ควาย และประกอบอาชีพเสริม เช่นการทอผ้า ทอเสื่อ และจักสาน ซึ่งเป็นการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น จากรุ่นปู่ย่า ตายาย  สู่รุ่นลูกหลาน สืบทอดกันมาจนถึงปัจจุบัน

ดังนั้น ภูมิปัญญาท้องถิ่นของอำเภอแวงน้อย จะเป็นด้านการเกษตร และด้านการทอผ้า ทอเสื่อเสียเป็นส่วนใหญ่  โดยมีปราชญ์ชาวบ้านของอำเภอที่มีการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการทอผ้าและทอเสื่อกก

4. ปราชญ์ชาวบ้าน

1.นางพิกุล  อามาตย์   หมู่ 10 ต.ก้านเหลือง

2.นางแหลมทอง   แสงจันทร์ หมู่ 1 ต.ก้านเหลือง

3.นางบงกช  ปราบ ณ ศักดิ์  หมู่ 8 ต.ก้านเหลือง

4.นางสาวอรุณศรี  เมืองทะบาล หมู่ 2 ต.ละหานนา

5.นางนันทพร  ชัยพรมมา หมู่ 14 ต.ละหานนา

6.นางสมควร  สันพันธ์  หมู่ 10 ต.ท่านางแนว

7.นางปัญญา  แก้วน้อย   หมู่ 1 ต.ละหานนา

8.นางเตือนใจ  สง่าพันธ์ หมู่ 6 ต.ละหานนา

9.นางสมควร  ลมงาม  หมู่ 11 ต.ก้านเหลือง

10. นายประสิทธิ์ ศรีมะณี  หมู่ 13 ต.แวงน้อย