KKTT และ ภาคีเครือข่าย ร่วมต้อนรับผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยและเมียนม่า
เยี่ยมชมศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะ Smart City Operation Center ( SCOPC )
รศ.ดร. รวี หาญเผชิญ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ให้การต้อนรับ Mrs. Melinda Good ผู้อำนวยการธนาคารโลกประจำประเทศไทยและเมียนม่า และทีมงานจาก World Bank Thailand เข้าแลกเปลี่ยนหารือแนวทางศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเมืองอัจริยะขอนแก่น ผ่านโครงการ Smart City และการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ปรึกษาหารือในความร่วมมือในอนาคตในการพัฒนา Funding City วันที่ 31 กรกฎาคม 2567 ร่วมกับ รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ และ ศ.ดร. วนิดา แก่นอากาศ และการส่งเสริม Social Economic ด้วยเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์ร่วมกับสถาบันวิศวกรรมปัญญาประดิษฐ์ ( AI Engineering Institute, CMKL)
การประชุมเชิงปฏิบัติการ “ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเมืองอัจริยะขอนแก่น“
ณ ห้องประชุม ห้องประชุม ไอยรา อาคาร Pullman Khon Kaen Raja Orchid
วันพุธที่ 31 กรกฎาคม 2567 บริษัท ขอนแก่นพัฒนาเมือง (KKTT) จำกัด ประสานงานกับธนาคารโลก (World Bank) โดยมี Mrs. Melinda Good ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทยและเมียนม่า ร่วมรับฟัง หัวข้อ “ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเมืองอัจริยะขอนแก่น” เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนข้อมูลและสำรวจศักยภาพการเติบโตของเศรษฐกิจในจังหวัดขอนแก่น โดย World Bank หรือ ธนาคารโลก ได้นำเสนอผ่านรายงานตามติดเศรษฐกิจไทย เดือน กรกฎาคม ปี 2567 หัวข้อ ปลดล็อกศักยภาพการเติบโตของเมืองรอง หรือ Thailand Economic Monitor : Unlocking the Growth Potential of Secondary Cities
“จากข้อมูลล่าสุด การเติบโตของ GDP ต่อหัวของเมืองรอง สูงกว่าของกรุงเทพฯ เกือบ 15 เท่า แสดงให้เห็นถึงผลิตภาพ ประสิทธิภาพ และศักยภาพทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นของเมืองรอง ธนาคารโลก จึงมองว่า เมืองรองมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาภูมิภาค โดยทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางของการปกครองท้องถิ่นและภาคอุตสาหกรรม สนับสนุนและเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจภูมิภาคกับกรุงเทพฯ หรือเป็นระเบียงการค้าทางเศรษฐกิจที่สำคัญ“
โดยเน้นย้ำว่า ในระยะยาวเมืองรองนั้นมีศักยภาพอย่างยิ่ง ในการเพิ่มผลิตภาพของประเทศไทยทั้งการกระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจและสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันในระดับโลก นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายในการสำรวจแนวทางใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจท้องถิ่นและปลดล็อกเขตเศรษฐกิจใหม่ในจังหวัดขอนแก่น สืบเนื่องจากจังหวัดขอนแก่น ได้มีแนวคิดในการพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของจังหวัดขอนแก่น หรือ “ขอนแก่นโมเดล” โดยเฉพาะระบบขนส่งมวลชนสาธารณะที่เอื้อต่อการพัฒนาเมืองในระยะยาว ซึ่งถูกนำไปใช้เป็นแนวทางขับเคลื่อนพัฒนาเมืองขอนแก่น รวมถึงเมืองอื่น ๆ ด้วย จึงได้ประสานงานกับธนาคารโลก (World Bank) เพื่อจัดการประชุมวิชาการเชิงปฏิบัติการซึ่งมี นางเมลินดา กู๊ด ผู้อำนวยการธนาคารโลก ประจำประเทศไทยและเมียนม่า เข้าร่วมรับฟังการแนวคิดและแลกเปลี่ยนความเข้าใจในเรื่อง ศักยภาพด้านโครงสร้างพื้นฐานในการพัฒนาเมืองอัจริยะขอนแก่น จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและผู้ที่เกี่ยวข้องในจังหวัดขอนแก่น
นายสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย กล่าวเพิ่มเติมเกี่ยวกับภารกิจและหน้าที่ของบริษัทขอนแก่นพัฒนาเมืองได้รับทุนการพัฒนาเมืองมาจากส่วนกลางที่ได้เป็นหน่วยงานเอกชน รับทุนจากส่วนกลางมาพัฒนาเมืองขอนแก่น และได้อธิบายให้ที่ประชุมทราบเกี่ยวกับโครงสร้างของการทำงานจากหลากหลายหน่วยงาน ไม่ว่าจะเป็นทางภาครัฐและภาคเอกชน และมีเป้าหมายอยากให้นักศึกษาที่จบการศึกษาในจังหวัดขอนแก่น หันกลับมาทำงานในจังหวัดขอนแก่นและพัฒนาจังหวัด จะทำให้เกิดการสร้างงานในจังหวัดขอนแก่นต่อไป นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาเหรียญโทเคน ที่ได้ยื่นเรื่องขอกับทางรัฐบาลว่าต้องการมีสกุลเงินดิจิทัลที่ใช้ในจังหวัดขอนแก่น โดยสามารถใช้เป็นส่วนลดสินค้า และบริการในมหาวิทยาลัยขอนแก่นรวมถึงพื้นที่รอบข้างได้
การประชุมครั้งนี้มีผู้เข้าร่วมการประชุม จำนวน 19 คน จาก 19 หน่วยงาน ได้แก่ เทศบาลนครขอนแก่น, ธนาคารโลกประจำประเทศไทย, สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา, มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บริษัทขอนแก่นพัฒนาเมือง อีกทั้งตัวแทนจากภาคีเครือข่าย ประกอบด้วย หอการค้าจังหวัดขอนแก่น, สภาอุตสาหกรรมจังหวัดขอนแก่น, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตขอนแก่น, ธนาคารแหง่ประเทศไทย สำนักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ชมรมธนาคารจังหวัดขอนแก่น, บริษัท ขอนแก่น อินโนเวชั่น เซ็นเตอร์, ธนารักษ์พื้นที่ขอนแก่น, คลังจังหวัดขอนแก่น, สำนักงานพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคม ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล, สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจสร้างสรรค์ขอนแก่น, สถิติจังหวัดขอนแก่น, ขอนแก่นทรานซิทซิสเต็ม จำกัด และ สโมสรซอนต้า ขอนแก่น
กิจกรรมที่เกี่ยวข้อง
- โครงการขับเคลื่อนและร่วมกันฟื้นฟูย่าน ถึงการใช้เทคโนโลยีด้าน blockchain cryptocurrency
- ขอนแก่นเมืองแห่งการเรียนรู้ ร่วมแลกเปลี่ยนกับโครงการพัฒนาเมืองเชิงบูรณาการเพื่อการเติบโตแบบคาร์บอนต่ำ และการเป็นเมืองที่ฟื้นตัวได้ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- โครงการ MOVE MAPTAPHUT เทศบาลเมืองมาบตาพุต จังหวัดระยองเข้าศึกษาดูงาน ณ ศูนย์ปฏิบัติการเมืองอัจฉริยะ Smart City Operation Center (SCOPC)
- โครงการอบรมสัมมนาแกนนำขับเคลื่อนชุมชน ( MOVE MAPTAPHUT ) เทศบาลเมืองมาบตาพุต จังหวัดระยอง