เล่าเรื่องจังหวัดขอนแก่นผ่านภาพถ่ายอำเภอกระนวน

ประวัติอำเภอกระนวน

อำเภอกระนวนจัดตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2491  โดยรวมเอาเขตการปกครองของตำบลกระนวนและตำบลบ้านโนน อำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น แยกเป็นเขตการปกครองเป็น “กิ่งอำเภอ” เนื่องจากเห็นว่าพื้นที่ตำบล ทั้งสองอยู่ห่างไกล จากที่ตั้งที่ว่าการอำเภอน้ำพองมาก การคมนาคมไม่สะดวก และมีโจรผู้ร้ายชุกชุม  ประชาชนเดือนร้อน ประสบปัญหา เรื่องความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน นายเลื่อน นิลประพันธ์  ผู้ดำรงตำแหน่งนายอำเภอน้ำพอง ขณะนั้นจึงได้ประชุมราษฎร ข้าราชการ กำนัน ผู้ใหญ่บ้านของตำบลกระนวน และตำบลบ้านโนน  มีมติให้ขอแยกเขตปกครองของทั้งสองตำบล  จัดตั้งเป็น “กิ่งอำเภอกระนวน” และกระทรวงมหาดไทย ได้ประกาศจัดตั้งที่ว่าการกิ่งอำเภอขึ้น และต่อมาปี พ.ศ. 2494 ได้มีการอนุมัติงบประมาณก่อสร้างที่ว่าการอำเภอ ต่อจากนั้นในปี พ.ศ. 2501 ได้มีพระราชกฤษฎีกายกฐานะกิ่งอำเภอกระนวนขึ้นเป็น “อำเภอกระนวน” ตามประกาศราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 75 ตอนที่ 55  ลงวันที่ 22 กรกฎาคม 2501  อำเภอกระนวน จึงวัฒนาถาวรภายใต้การปกครองของนายอำเภอ ตั้งแต่บัดนั้นสืบมา

คำขวัญประจำอำเภอ

“กระนวนแดนดินถิ่นเกษตร  เขตปลูกอ้อย  ร้อยต่อยางพารา ศูนย์กลางการค้า  พัฒนาคุณธรรม ลือล้ำบุญบั้งไฟ เที่ยวบ๋าหลวงตาดโตนใส  รวมน้ำใจถิ่นคนดี”

2. ของดีอำเภอกระนวน

อำเภอกระนวน มีพื้นที่ทำการการเกษตร คือ 

– การปลูกข้าว 

– การปลูกอ้อย 

– การปลูกมันสำปะหลัง  

– การปลูกยางพารา                                                                                      

ผลิตภัณฑ์ชุมชนและท้องถิ่น                                                                                      

– กลุ่มทอเสื่อกกและแปรรูปผลิตภัณฑ์ บ้านโป่ง แค่ หมู่ที่ 6 ตำบลห้วยโจด อำเภอกระนวน        

– กลุ่มทอผ้าฝ้าย บ้านหัวหนอง หมู่ที่ 2 ตำบลบ้านฝาง อำเภอกระนวน

– กลุ่มถั่วลิสงศรีไพรสถิต บ้านศรีสถิต หมู่ที่ 12 ตำบลหนองโก อำเภอกระนวน                                

– กลุ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์ บ้านหนองกุงใหญ่ หมู่ที่ 1 ตำบลหนองกุงใหญ่ อำเภอกระนวน      

– กลุ่มทอผ้าไหมบ้านหนองกุงแปน หมู่ที่ 9 ตำบลหนองกุงใหญ่ อำเภอกระนวน                             

– กลุ่มทอเสื่อลายไทย บ้านภูถ้ำเม่น หมู่ที 9 ตำบลดูนสาด อำเภอกระนวน                                   

– กลุ่มเย็บผ้าห่ม บ้านนาโป่ง หมู่ที่ 7 ตำบลหัวนาคำ อำเภอกระนวน           

  น้ำตกบ๋าหลวง   เป็นน้ำตกที่เกิดตามธรรมชาติ มีแหล่งกำเนิดจากเทือกเขาป่าดงมูลไหลลงมาทางตำบลห้วยยาง เกิดเป็นน้ำตกขนาดเล็ก อยู่ในเขตบ้านโคกล่าม หมู่ที่ 5 ตำบลห้วยยางในหน้าน้ำ จะมีบรรยากาศของพรรณไม้ป่าธรรมชาติ และฝูงนกกาบินร่อนไปมา สวยงาม น่าท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจ กลุ่มเย็บผ้าห่ม บ้านนาโป่ง หมู่ที่ 7 ตำบลหัวนาคำ อำเภอกระนวน

– มีสถานที่สำคัญอันเป็นทั้งสถานที่สักการบูชาของพุทธศาสนิกชน ทั้งคนไทยและคนไทยเชื้อสายจีนหลายแห่ง มีสถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่น่าสนใจ อาทิ เช่น ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นศาลหรือศาลาทรงไทย ประดิษฐานหลักเมืองอันถือเป็นศูนย์กลางของอำเภอกระนวน ตั้งอยู่บริเวณในเขตรั้วของศาลเจ้าพ่อหนองโก บริเวณศูนย์ราชการอำเภอ

– ด้านประเพณี  วัฒนธรรม   ประชาชนชาวอำเภอกระนวน นับถือขนบธรรมเนียมประเพณีตามแนวทางที่ชนพื้นเมืองชาวอีสานนับถือกันมาตั้งโบราณ ทั้งการยึดมั่นในหลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนา อันมีวัดเป็นศูนย์กลางและศูนย์รวมจิตใจ มีความเชื่อที่หลากหลาย แตกต่างกันออกไปตามแต่ละพื้นที่อยู่อาศัยเช่นเดียวกับการไหว้ของชาวจีน แต่ในพื้นเมืองอีสานจะมีการไหว้รวมกันของชาวบ้าน ณ สถานที่เฉพาะตาม  ที่สาธารณประโยชน์หรือที่หลวง จะมีศาลเพียงตาที่ชาวอีสานเรียก  “ตาปู่ หรือ ปู่ตา”  ก็มี  ซึ่งได้แก่ผี หรือดวงวิญญาณของผู้ที่เคารพนับถือของชาวบ้านที่มีการอัญเชิญมาสิงสถิต  เพื่อบำบัดปัดเป่าเคราะห์ร้ายทั้งปวง และอำนวยอวยชัยให้แก่ลูกหลาน นอกจากนี้ยังคงมีความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณีที่สำคัญอีกหลายอย่างซึ่งผูกพันกับชีวิตของผู้คนและสังคม เพื่อให้เกิดความรักใคร่ นับถือ สร้างสรรค์สามัคคีกัน  ประเพณีที่สำคัญของอำเภอกระนวน  คือ        

– ประเพณีบุญบั้งไฟ                                                                                                

– ประเพณีบุญผะเหวดหรือบุญพระเวส                                                                 

– ประเพณีบุญข้าวประดับดิน                                                                                      

– ประเพณีบุญข้าวจี่                                                                                                

– ประเพณีบุญข้าวกรรม                                                                                           

– ประเพณีบุญคูณลาน                                                                                             

– ประเพณีบุญสงกรานต์                                                                                           

– ประเพณีบุญซำฮะ                                                                                                

– ประเพณีบุญข้าวสาก                                                                                              

– ประเพณีบุญเข้าพรรษา-ออกพรรษา                                                                              

– ประเพณีบุญกฐิน

4. ปราชญ์ชุมชนอำเภอกระนวน

1.นางกรณิการ์ นารอง ด้านวัฒนธรรม,ด้านการทอผ้า

2.นางเสาร์ พลศักดิ์ขวา ด้านการทอผ้า     

3.นางนิชนาฎ นรจินต์ ด้านการแปรรูปเสื่อกก

4.นายสุรพล ทองเหลา ด้านการเกษตร

5.นายเข็มพลอย ชาวเหนือ ด้านการเกษตร

6.นายสุวัจชัย เพ็งวิชัย ประธานสภาวัฒนธรรม อำเภอกระนวน