ศาลเจ้าพ่อมเหสักข์


เรื่องเล่าของนางเทียม ร่างทรงเจ้าพ่อมเหสักข์หลักเมืองอำเภอชนบท

“คนที่จะเป็นร่างทรงได้ จะต้องทำดี ประพฤติปฏิบัติดี ไม่ทำผิด มีศีลธรรม ซึ่งต้องทำตลอดชั่วชีวิตที่รับใช้เจ้าพ่อ”

เมื่อเดินทางมาถึงอำเภอชนบทแล้ว สิ่งที่ต้องทำเป็นสิ่งแรก คือการเข้าไปกราบไหว้ขอพรเจ้าพ่อมเหศักดิ์  ที่บุคคลที่ชาวอำเภอชนบทเลื่อมใส ศรัทธามาช้านาน  ศาลหลักเมืองและศาลเจ้าพ่อมเหศักดิ์เป็นสถานที่ศักดิ์สิทตั้งอยู่ที่ห้วยหนองเอี่ยน  ในอำเภอเมืองชนบท  มีคุณยายถาวร ดิษชัง  เป็นนางเทียม หรือที่เรียกว่าเป็นร่างทรงเจ้าพ่อมเหศักดิ์  ผู้นำด้านจิตวิญญาณในการประกอบพิธีกรรมในงานบุญ งานบวงสรวง ในเทศกาลต่างๆ ตลอดจนเป็นที่พึ่งทางใจแก่เหล่าลูกบ้านชาวอำเภอชนบท และผู้ที่เดินทางมายังสถานที่แห่งนี้

คุณยายถาวร เล่าว่า  เจ้าพ่อมเหศักดิ์หลักเมือง  หมายถึง ผีอารักษ์ประจำเมือง  หรือผีบรรพบุรุษที่คอยคุ้มครองบ้านเมืองมี 3 พระองค์  ชาวชนบทให้ความเคารพนับถือมาตั้งแต่สร้างบ้านเมือง สำหรับที่ตั้งศาลเจ้าพ่อท่านเลือกสถานที่แห่งนี้ เพราะมีน้ำล้อมรอบเมือง มีความอุดมสมบูรณ์ ทำให้ชาวบ้านที่เข้ามาอาศัยมีอยู่มีกิน มีความสุข  ทุกปีจึงมีประเพณีแห่บูชา บวงสรวงเลี้ยงเซ่นไหว้ ในวันสงกรานต์จะมีการแห่รอบบ้านและบวงสรวง   รวมทั้งบูชาในวันพระ ข้างขึ้นเดือนหก เป็นประจำทุกปี   

ยายถาวรถูกคัดเลือกให้เป็นร่างทรงหรือที่ชาวอีสานเรียกว่านางเทียมเจ้าพ่อมเหศักดิ์เป็นมา 7 ปีแล้ว  หลังจากร่างทรงคนที่ 3 เสียชีวิต  ทำหน้าที่นางเทียมสืบต่อ  การคัดเลือกจากเจ้าพ่อ  จะไม่ได้เลือกใครไว้ก่อน หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า ตัวตายตัวแทน คือร่างทรงคนเดิมต้องเสียชีวิตก่อนที่จะเลือกคนใหม่เข้ามาทำหน้าที่แทน     ชาวบ้านมีความเชื่อว่า เมื่อถึงเวลาหานางเทียมคนใหม่ เจ้าพ่อมเหศักดิ์จะลงประทับร่างนางเทียม แล้วทำการเลือกผู้ที่มีความเหมาะสม ในการรับสืบทอดจิตวิญญาณต่อ  หลังจากเจ้าพ่อมเหศักดิ์เลือกได้แล้วคนที่ถูกเลือกจะลุกขึ้นร่ายรำ จะเป็นที่รู้กันว่า ได้นางเทียมคนใหม่แล้ว เพื่อสานต่อเป็นสื่อกลางทางจิตวิญญาณระหว่างเจ้าพ่อกับชาวบ้านจากนางเทียมคนเก่า ติดต่อสื่อสารกันในโลกต่างมิติ เพื่อส่งต่อผ่านถ้อยคำกับกับผู้คน ที่เคารพนับถือ  ที่สำคัญนางเทียมทุกคนที่ถูกเลือก จะต้องเป็นคนดี อยู่ในศีล ในธรรม ประพฤติปฏิบัติดี เป็นที่เคารพของคนในชุมชน จะต้องรักษาความดีนี้ตลอดอายุขัย

นางไพจิตร  วรแสน  ผู้ดูแลศาลและดูแลนางเทียมร่างทรง  มานานกว่า 30 ปีแล้ว  เล่าว่า     ร่างทรงที่ยังไม่ได้รับการคัดเลือกจะถือขันนิมนต์ เลือกร่างทรงรายต่อไป คนที่เป็นร่างทรงจะถือขันดอกไม้ไปเลือก   โดยจะมีคนที่เข้าตามานั่งรอคัดเลือก หากเจ้าพ่อเลือกใครเป็นร่างทรงจะวางขันดอกไม้  คนที่ถูกเลือกให้สืบต่อนางเทียมลุกขึ้นร่ายรำ เพื่อแสดงว่าร่างถูกประทับทรงและจะเป็นร่างทรงสืบต่อจากคนเดิมที่เสียชีวิตไป  หลังจากรับตำแหน่งในงานบวงสรวงเจ้าพ่อมเหศักดิ์ที่จัดเป็นประจำทุกปี     ร่างทรงจะสวมใส่ชุดเครื่องทรงนางเทียมเสื้อแขนยาวคอจีนสีแดง   มีชาวบ้านต่างนำเหล้า หัวหมูหรือไก่ต้ม การเล่นละครฟ้อนรำ ขับร้อง ดอกไม้สีแดง ผ้าสีแดง พวงมาลัยสีแดง และจุดธูป 9 ดอก ในวันพุธ    เพื่อบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเทพเจ้าที่คอยคุ้มครองบ้านเมือง อีกทั้งเลข 9 ยังเป็นเลขมงคล ที่หมายถึงความเจริญก้าวหน้า ช่วยให้ผู้ที่อยู่อาศัย ผู้ที่นับถือก้าวไปข้างหน้า และเจริญเติบโตรุ่งเรือง

ชื่อแหล่งเรียนรู้ – ศาลเจ้าพ่อมเหสักข์
นักจัดการการเรียนรู้ – นางถาวร ดิษชัง   ร่างทรงเจ้าพ่อมเหศักดิ์   และ นางไพจิตร  วรแสน  ผู้ดูแลศาลและดูแลนางเทียมร่างทรง  
ที่อยู่ – เลขที่ 3 หมู่ 1 ชุมชนศรีสุมัง ต.ชนบท อ.ชนบท จ.ขอนแก่น
หลักสูตรเรียนรู้ – ประวัติการสร้างบ้านเมือง ความเชื่อ ความศรัทธา ต่อเจ้าพ่อมเหศักดิ์
ผลที่ได้รับ – รู้จักและเข้าใจความเป็นมาของอำเภอชนบทมากขึ้น   

คลิกเพื่อดูแผนที่ : https://www.canva.com/design/DAGmi-9AT4I/8G6u764XsLcDavZ3m39BQg/edit