คณะ World Bank บพท. เข้าพบท่านนายกธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์

คณะ World Bank ร่วมกับ บพท. เข้าพบท่านนายกธีระศักด์ ฑีฆายุพันธุ์ เพื่อหารือการดำเนินการงานร่วมกันกับเทศบาลนครขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30-15.30 น. ณ เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้เข้าร่วม 1.คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย 2.คุณวรรณิภา ปิ่นเพชร 3.คุณญาดา วิเศษผง

ทาง บพท. ได้กำหนดเมืองเป้าหมายในการวิจัย 5 เมืองหลักของประเทศไทย ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ระยอง นครสวรรค์ โดยทาง World Bank มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในด้านการลงทุนการระดมทุน วิเคราะห์ข้อจำกัด วิเคราะห์ความท้าทาย โดยจะช่วยดูแลโครงการเป็นระยะเวลา 1 ปีครึ่ง

การบริหารจัดการงบประมาณของเทศบาลนครขอนแก่น มีส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้

  1. เงินรายได้ของเทศบาล
    – เงินภาษี,ตึกให้เช่า,เทศพาณิชย์
  2. เงินอุดหนุน
    – เงินอุดหนุนจากรัฐบาลซึ่งจะครอบคลุมในเรื่องของเงินเดือนครูในสังกัดเทศบาล ,เบี้ยยังชีพ,เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ
  3. เงินสะสม
    – ปัจจุบันมีเงินกว่าพันล้านที่สามารถนำมาทำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบที่เอื้อให้สามารถทำได้ มีโครงการใหญ่ ๆ รอที่จะใช้งบประมาณในส่วนนี้ เช่น สร้างสำนักงานงานเทศบาลแห่งใหม่งบประมาณ 450 ล้าน โครงการโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้างตลาดสดประมาณ 350 ล้านบาท ที่จะนำออกมาเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียน
  4. การกู้เงิน หากไม่สามารถใช้เงินในแต่ละส่วนได้ จะมีช่องทางการกู้เงินดังนี้
    – กองทุนส่งเสริมกิจกรรมเทศบาล
    – ธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน

    ในปี พ.ศ.2565 เทศบาลนครขอนแก่น มีการกำหนดนโยบายดังนี้
    1. พัฒนาคุณภาพชีวิต นำงบประมาณไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส กลุ่มคนเปราะบาง
    2. กระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสทางการค้า, เพิ่มพื้นที่การขายของ
    3. ส่งเสริมและสร้างรายได้ให้
      ประชาชน เช่น พัฒนาบขส.1, food street ถนนคนเดินวันอาทิตย์
    4. เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Low Carbon City) ปลูกฝังจิตสำนึกให้มีระเบียบ รักสิ่งแวดล้อม สั่งสมจนเกิดทัศนคติที่ดี
    5. เพิ่มความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำ ยกตัวอย่างดังนี้
      – ห้องน้ำชาย-หญิงเราจะสังเกตได้ว่า เวลาที่เข้าห้องน้ำนั้น ห้องน้ำผู้หญิงจะมีคนรอต่อแถวเพื่อจะเข้าห้องน้ำเป็นจำนวนมาก จึงคิดว่าควรแก้ปัญหานี้ด้วยการเพิ่มพื้นที่ห้องน้ำหญิงให้มากขึ้น
      – เรื่องเพศสภาพ ได้มีการคุยกับเหล่า LGBTQ+ ว่าความต้องการที่แท้จริงเขาต้องการสิ่งใด และพบว่าสิ่งที่เขาต้องการคือพื้นที่ยืนการมีตัวตนในสังคม มองไปถึงพรบ.สมรสเท่าเทียม รับฟังเสียงของคนรุ่นใหม่ให้มากยิ่งขึ้น มีการจัดเวทีสภาเมืองคือเวทีเรียนรู้เพื่อฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
      – ความเท่าเทียมทางการศึกษา
      เด็กประถมและเด็กมัธยมของเทศบาลเข้ากระบวนการคัดกรองโดยจิตแพทย์ ยกตัวอย่างรายงานล่าสุด โรงเรียนในสังกัดเทสบาล 11 โรงเรียน 11,000 คน เข้ากระบวนการคัดกรอง 8,200 คน เด็กที่จะต้องพบแพทย์และเด็กที่มีปัญหาต้องการปรับพฤติกรรมมีทั้งหมด 937 คน

      ความท้าทายของการทำงานของเทศบาล มีดังนี้
    1. เรื่องระเบียบทางราชการ ที่ทำให้ไม่สามารถทำได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน เช่น รถไฟรางคู่ ชุมชนรถไฟ มีการรื้อถอนบ้านบริเวณชุมชนรถไฟ ในส่วนของที่ดินรถไฟเป็นโครงการของกระทรวงทางเทศบาลไม่มีสิทธิที่จะแก้ปัญหาส่วนนี้ ทำให้เห็นว่าเราเห็นปัญหาแต่ไม่สามารถแก้ไขตรงจุดนี้ได้
    2. คาดการณ์หลายสิ่งได้ยากลำบาก
    3. การบริหารบ้านเมืองภายใต้ความซับซ้อน
  • ท่านนายกเทศมนตรีฯ แจ้งว่าถ้าได้ข้อสรุปจากทาง CEA อาจต้องให้ทาง World Bank มาช่วยดูพื้นที่บริเวณ บขส.1
  • ท่านนายกฯ ให้ความคิดเห็น ในเรื่องการพัฒนาบขส.1 ต้องมีหลากหลายกลุ่มมาประกอบการค้าได้ ต้องปรับปรุงอาคารตึกพาณิชย์ในพื้นที่ โดยมีการดูโมเดลต้นแบบจาก Siam square คือ มีลานจัดกิจกรรมเป็นพื้นที่ส่วนกลางและมีร้านค้าที่แปลกใหม่ นำมาปรับใช้กับบขส.1 ได้โดยการรีโนเวทตึกในพื้นที่และให้เทศบาลมีการเข้าไปจัดกิจกรรม