การศึกษาดูงานภายในและภายนอกประเทศ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข

การศึกษาดูงานภายในและภายนอกประเทศ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข (นบส.สธ. รุ่นที่ 3) ปีงบประมาณ 2565
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565
เวลา 09.00 – 12.00 น.
สถานที่ โรงแรมพูลแมน ขอนแก่น ราชา ออคิด

Smart City เริ่มต้นจากคน (Human) ความร่วมมือทางสังคม (Social) ปัญหาของประเทศไทยอยู่ที่ 2 ตัวนี้ คือ คนและความร่วมมือทางสังคม ขอนแก่นใช้เวลา 17 ปีในการจัดงานเสวนาพูดคุย เทศบาลขอนแก่นสามารถเปิดเวทีเมืองได้ทันทีภายในหนึ่งอาทิตย์หากมีปัญหาสามารถรวมคนมาพูดคุยได้ทันที ต้องมีพื้นที่กลางที่ทุกคนมาคุยกันได้ ต้องสร้างการมีส่วนร่วมเพราะเป็นสิ่งที่สำคัญ

ขอนแก่นมี smart city ทั้งหมด 7 ด้าน คือ
1. Smart Economy
2. Smart Energy
3. Smart Environment
4. Smart Mobility
5. Smart People
6. Smart Governance
7. Smart Living

เปรียบเทียบ smart city เหมือนการปลูกต้นไม้รากของมันต้องมีกระถาง มีกระถางต้นไม้คือ smart city operation center (ฐานข้อมูล) มีดินคือ LRT รถบัส มีการออกแบบเมืองที่ดี มีปุ๋ยคือ เทคโนโลยี,เซนเซอร์,Bigdata,IOT

การแก้ปัญหารถติด
– ออกแบบเมืองเพื่อป้องกันปัญหาอย่างยั่งยืนในอนาคต
– ลดความเหลื่อมล้ำ

สร้างเสน่ห์ดึงดูดการลงทุน ขอนแก่น look north (เศรษฐกิจมองขึ้นทางเหนือ) ได้แก่ smart farming กุ้งขาว,กุ้งทะเล,ปลากะพง

เริ่มโครงการจากการพูดคุย
– บริเวณพื้นที่ห้องแถวย่านศรีจันทร์ ได้มีการพาน้องๆลูกหลานเจ้าของห้องแถวพาเดินดูตึกพาณิชย์ จัดเวทีในการพูดคุยสำคัญมาก พาคนเดินดูเมือง
ปลายปีนี้จะมีการลงทุนเช่าห้องแถวทั้งหมด มีโรงเรียนใกล้เคียงคือ โรงเรียนกัลยาณวัตร โรงเรียนขอนแก่นวิทยายน ทำชั้น 2-3 เป็นหอพัก ทำชั้น1 เป็นพื้นที่ให้ Start up มาอยู่ฟรี 6 เดือน และทำขนส่งสาธารณะ สร้างความร่มรื่นจากการเตรียมต้นไม้โดยได้มีการพูดคุยร่วมกับพี่แขกจากกรมป่าไม้ เทศบาลจะนำเรื่องเข้าแผนและทำฟุตบาต ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลเหล่านี้เกิดขึ้นได้จากการพูดคุย
– Digital as Utility ทำโครงสร้างพื้นฐานด้านดิจิทัลให้เป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานแก่ประชาชน
– KGO TOKEN คือแต้มส่วนลดที่อยู่บน Block chain ร้านค้าเล็กๆสามารถใช้ได้
– Metaverse infinitland ทำ digital land แบ่ง 30 % ให้กับคนตัวเล็ก
– NFT นำรูปศิลปินท้องถิ่นมา MINT เป็น NFT

ช่วงถาม-ตอบ
ผู้เข้าประชุม : ในส่วนของการใช้ KGO จะเสียภาษีเยอะเหมือนแอปพลิเคชันของทางรัฐหรือไม่?
คุณสุรเดช : ไม่มีเพราะ KGO เป็นเพียงแต้มส่งการขายธรรมดาไม่เหมือนกับคนละครึ่ง
ผู้เข้าประชุม : ในเรื่องอีโก้ ทำอย่างไรให้คนคุยกันได้?
คุณสุรเดช : มีกระบวนการในการพูดคุย พื้นที่ต้องเป็นกลาง ต้องจัดเวทีพูดคุย
ผู้เข้าประชุม : ด้วยความเป็นภาคเอกชน ถ้ามีนักการเมืองท้องถิ่น รัฐบาล ทาง อ.ignore เลยหรือไม่?
คุณสุรเดช : เราไม่ ignore ใครเลย เพราะทุกส่วนมีความสำคัญ
ผู้เข้าประชุม : โครงการดีๆแบบนี้ต้องมาจากบริษัทจำกัดอย่างเดียวไหม?
คุณสุรเดช : Leader สามารถเป็นใครก็ได้ไม่จำเป็นต้องมาจากบริษัทจำกัด
ใน 129 โครงการต้องการเพียง 3 สิ่งคือ
แก้จน โปร่งใส ลดความเหลื่อมล้ำ
ผู้เข้าประชุม : อยากทราบแนวคิดการเตรียมความพร้อมรับสังคมผู้สูงอายุ?
คุณสุรเดช : ต้องสร้างเด็กๆให้เป็น global citizen


การศึกษาดูงานภายในและภายนอกประเทศ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข (นบส.สธ. รุ่นที่ 3) ปีงบประมาณ 2565
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 13.00 – 15.30 น. ณ SCOPC อุทยานวิทยาศาสตร์ มข.
ผู้เข้าร่วมประชุม
– คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย
– รศ.ดร.รวี หาญเผชิญ

บทบาทของ SCOPC
เป็น data centre (คลังข้อมูล) ที่อำนวยความสะดวกให้กับภาคอุตสาหกรรม ภาคการศึกษา ภาครัฐ ภาคธุรกิจ ภาคเอกชน ฯลฯ โดยอยู่ภายใต้กระทรวงอุดมการศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัย และนวัตกรรม (อว.)

จะเป็น smart city ได้อย่างไร
เริ่มจากโครงสร้างพื้นฐานก่อน (Smart Mobility) และต่อมาการเป็นเมืองอัจฉริยะมีแต่คนอยากเป็นแต่ไม่มีคนทำ จึงต้องสร้างสภาพแวดล้อมที่ผลิต Smart Citizen (บุคลากรอัจฉริยะ) โดย SCOPC เป็นพื้นที่ที่ให้ผู้คนได้ทดลอง เรียนรู้ พัฒนาบุคลากรและมุ่งหวังที่จะขยายผลไปทั้งอีสาน
เดิมที smart city คือการรวมตัวกันของ stake holder (ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย) แต่ขอนแก่นต้องการจะสร้าง actor (ผู้ลงมือทำ) โดยพัฒนาต่อมาเป็น agency ex. TCDC

สิ่งที่ SCOPC กำลังทำ/อำนวยให้กับผู้ที่มาใช้บริการ
SCOPCเป็นพื้นที่บริการให้แก่ผู้คนโดยสามารถเช่าพื้นที่ อุปกรณ์ต่างๆ คลังข้อมูล และลิขสิทธิ์ เพื่อให้ธุรกิจ/กิจกรรมนั้นๆสะดวกสะบายมากยิ่งขึ้น
Real-time analytics(การวิเคราะห์ข้อมูลทันที) = จัดทำข้อมูลโดยดึงข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆที่อยู่อย่างกระจัดกระจายนำมาวิเคราะห์เพิ่มเติมเพื่อให้เห็นถึง pain point ที่ซ่อนอยู่ ex. Operations dashboard
KKU Digital twin (การจำลองดิจิทัล)/pilot plant(โรงงานจำลอง) เป็นการจำลองเสมือนจริง
Maker space เป็นพื้นที่ให้ผู้คนจากภาคต่างๆที่กล่าวข้างต้นเข้ามาทดลอง วิจัย ในพื้นที่และด้วยอุปกรณ์ของ SCOPC
สิ่งสำคัญของการเป็นเมืองอัจฉริยะ คือ ข้อมูล ต้องเป็นข้อมูลที่เข้าถึงได้ เชื่อถือได้ และตอบสนองได้ทันท่วงที (real-time)


การศึกษาดูงานภายในและภายนอกประเทศ หลักสูตรนักบริหารระดับสูง กระทรวงสาธารณสุข (นบส.สธ. รุ่นที่ 3) ปีงบประมาณ 2565
ขอเข้าศึกษาดูงานแทรม มทร.
วันอังคารที่ 28 มิถุนายน 2565 เวลา 16.00-17.00 น. ณ มทร.
ผู้เข้าร่วม : คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย

คุณสุรเดชได้เล่าให้คณะฟังว่า เมืองฮิโรชิมะ ประเทศญี่ปุ่น บริจาครถไฟ 2 ตู้ คือ 906,907 ตู้ที่ 907 อยู่ที่มทร.อีสาน ตู้ 906 อยู่ที่ประเทศเกาหลี มีค่าขนส่งอยู่ที่ 1.5 ล้านบาท KKTT เป็นผู้ออกทุนในครั้งนี้เพื่อนำมาวิจัยและเป็นตัวต้นแบบในการสร้างรถ Tram

  • กลางเดือน ก.ค. 65 จะทำการทดลองวิ่งรถ
  • รถไฟฟ้ารางเบาออกแบบโดยวิศวกรคนไทยทั้งหมด
  • ออกแบบและผลิตชิ้นส่วนในประเทศไทยทั้งหมด

จังหวัดขอนแก่นมีโครงการรถไฟฟ้ารางเบาสายนำร่องคือสายสำราญ-ท่าพระ ระยะทาง 26 กิโลเมตร(รางใหญ่), โครงการเรียนรู้ด้านระบบรางซึ่งมีอยู่ที่มทร.อีสานวิทยาเขตขอนแก่น และรอบบึงแก่นนคร (รางเล็ก) คุณสุรเดชกล่าว “เราเชื่อเรื่องการถ่ายทอดเทคโนโลยี คนไทยสามารถทำได้”

ช่วงถาม-ตอบ
1.เทคโนโลยีที่ใช้ผลิตรถไฟฟ้ารางเบาเป็นเทคโนโลยีสมัยเก่าหรือไม่ มีการปรับเปลี่ยนส่วนไหน?
คุณสุรเดช : เทคโนโลยีที่ใช้นั้นไม่มีความแตกต่าง มีการแปลงไฟฟ้า ตัวมอเตอร์ คอนโทรลเลอร์แบบเดียวกัน
2.รถไฟฟ้ารางเบาที่ผลิตขึ้นมาใหม่นั้น มีความล้ำหน้าทันสมัยที่สุดหรือไม่ ล้ำหน้าทันสมัยไปแค่ไหน
คุณสุรเดช : ล้ำหน้าและทันสมัยที่สุดในประเทศแล้ว สมารถวิ่งได้ด้วยความเร็ว 8 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
3.รถไฟ 907 จากฮิโรชิมะ สามารถนำมาวิ่งได้จริงหรือไม่
คุณสุรเดช : สามารถวิ่งได้จริงแต่ต้องทำการจ่ายกระแสไฟก่อน