คณะ World Bank บพท. เข้าพบท่านนายกธีระศักดิ์ ฑีฆายุพันธุ์
คณะ World Bank ร่วมกับ บพท. เข้าพบท่านนายกธีระศักด์ ฑีฆายุพันธุ์ เพื่อหารือการดำเนินการงานร่วมกันกับเทศบาลนครขอนแก่น
วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน 2565 เวลา 13.30-15.30 น. ณ เทศบาลนครขอนแก่น
ผู้เข้าร่วม 1.คุณสุรเดช ทวีแสงสกุลไทย 2.คุณวรรณิภา ปิ่นเพชร 3.คุณญาดา วิเศษผง
ทาง บพท. ได้กำหนดเมืองเป้าหมายในการวิจัย 5 เมืองหลักของประเทศไทย ได้แก่ ขอนแก่น เชียงใหม่ ภูเก็ต ระยอง นครสวรรค์ โดยทาง World Bank มีความเชี่ยวชาญและมีความสามารถในด้านการลงทุนการระดมทุน วิเคราะห์ข้อจำกัด วิเคราะห์ความท้าทาย โดยจะช่วยดูแลโครงการเป็นระยะเวลา 1 ปีครึ่ง
การบริหารจัดการงบประมาณของเทศบาลนครขอนแก่น มีส่วนสำคัญ 4 ส่วน ดังนี้
- เงินรายได้ของเทศบาล
– เงินภาษี,ตึกให้เช่า,เทศพาณิชย์ - เงินอุดหนุน
– เงินอุดหนุนจากรัฐบาลซึ่งจะครอบคลุมในเรื่องของเงินเดือนครูในสังกัดเทศบาล ,เบี้ยยังชีพ,เงินอุดหนุนเฉพาะกิจ - เงินสะสม
– ปัจจุบันมีเงินกว่าพันล้านที่สามารถนำมาทำในส่วนที่เกี่ยวข้องกับอำนาจหน้าที่ ตามระเบียบที่เอื้อให้สามารถทำได้ มีโครงการใหญ่ ๆ รอที่จะใช้งบประมาณในส่วนนี้ เช่น สร้างสำนักงานงานเทศบาลแห่งใหม่งบประมาณ 450 ล้าน โครงการโครงสร้างพื้นฐาน ก่อสร้างตลาดสดประมาณ 350 ล้านบาท ที่จะนำออกมาเพื่อก่อให้เกิดการกระตุ้นเศรษฐกิจเพื่อให้เกิดเงินหมุนเวียน - การกู้เงิน หากไม่สามารถใช้เงินในแต่ละส่วนได้ จะมีช่องทางการกู้เงินดังนี้
– กองทุนส่งเสริมกิจกรรมเทศบาล
– ธนาคารรัฐ เช่น ธนาคารกรุงไทย, ธนาคารออมสิน
ในปี พ.ศ.2565 เทศบาลนครขอนแก่น มีการกำหนดนโยบายดังนี้- พัฒนาคุณภาพชีวิต นำงบประมาณไปพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับประชาชน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่ด้อยโอกาส กลุ่มคนเปราะบาง
- กระตุ้นเศรษฐกิจ เพิ่มโอกาสทางการค้า, เพิ่มพื้นที่การขายของ
- ส่งเสริมและสร้างรายได้ให้
ประชาชน เช่น พัฒนาบขส.1, food street ถนนคนเดินวันอาทิตย์ - เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม (Low Carbon City) ปลูกฝังจิตสำนึกให้มีระเบียบ รักสิ่งแวดล้อม สั่งสมจนเกิดทัศนคติที่ดี
- เพิ่มความเท่าเทียมลดความเหลื่อมล้ำ ยกตัวอย่างดังนี้
– ห้องน้ำชาย-หญิงเราจะสังเกตได้ว่า เวลาที่เข้าห้องน้ำนั้น ห้องน้ำผู้หญิงจะมีคนรอต่อแถวเพื่อจะเข้าห้องน้ำเป็นจำนวนมาก จึงคิดว่าควรแก้ปัญหานี้ด้วยการเพิ่มพื้นที่ห้องน้ำหญิงให้มากขึ้น
– เรื่องเพศสภาพ ได้มีการคุยกับเหล่า LGBTQ+ ว่าความต้องการที่แท้จริงเขาต้องการสิ่งใด และพบว่าสิ่งที่เขาต้องการคือพื้นที่ยืนการมีตัวตนในสังคม มองไปถึงพรบ.สมรสเท่าเทียม รับฟังเสียงของคนรุ่นใหม่ให้มากยิ่งขึ้น มีการจัดเวทีสภาเมืองคือเวทีเรียนรู้เพื่อฟังและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น
– ความเท่าเทียมทางการศึกษา
เด็กประถมและเด็กมัธยมของเทศบาลเข้ากระบวนการคัดกรองโดยจิตแพทย์ ยกตัวอย่างรายงานล่าสุด โรงเรียนในสังกัดเทสบาล 11 โรงเรียน 11,000 คน เข้ากระบวนการคัดกรอง 8,200 คน เด็กที่จะต้องพบแพทย์และเด็กที่มีปัญหาต้องการปรับพฤติกรรมมีทั้งหมด 937 คน
ความท้าทายของการทำงานของเทศบาล มีดังนี้
- เรื่องระเบียบทางราชการ ที่ทำให้ไม่สามารถทำได้หลายเรื่องในเวลาเดียวกัน เช่น รถไฟรางคู่ ชุมชนรถไฟ มีการรื้อถอนบ้านบริเวณชุมชนรถไฟ ในส่วนของที่ดินรถไฟเป็นโครงการของกระทรวงทางเทศบาลไม่มีสิทธิที่จะแก้ปัญหาส่วนนี้ ทำให้เห็นว่าเราเห็นปัญหาแต่ไม่สามารถแก้ไขตรงจุดนี้ได้
- คาดการณ์หลายสิ่งได้ยากลำบาก
- การบริหารบ้านเมืองภายใต้ความซับซ้อน
- ท่านนายกเทศมนตรีฯ แจ้งว่าถ้าได้ข้อสรุปจากทาง CEA อาจต้องให้ทาง World Bank มาช่วยดูพื้นที่บริเวณ บขส.1
- ท่านนายกฯ ให้ความคิดเห็น ในเรื่องการพัฒนาบขส.1 ต้องมีหลากหลายกลุ่มมาประกอบการค้าได้ ต้องปรับปรุงอาคารตึกพาณิชย์ในพื้นที่ โดยมีการดูโมเดลต้นแบบจาก Siam square คือ มีลานจัดกิจกรรมเป็นพื้นที่ส่วนกลางและมีร้านค้าที่แปลกใหม่ นำมาปรับใช้กับบขส.1 ได้โดยการรีโนเวทตึกในพื้นที่และให้เทศบาลมีการเข้าไปจัดกิจกรรม